ธรรมาภิบาลและจริยธรรมในการดำเนินกิจการ

(Corporate Governance Code & Code of Conduct)

ธรรมาภิบาลจัดเป็นแนวคิดสำคัญในการบริหารงานและการปกครองในปัจจุบัน เพราะโลกปัจจุบันได้หันไปให้ความสนใจกับเรื่องของโลกาภิวัตน์และธรรมาภิบาลหรือการบริหารจัดการที่ดีมากขึ้น แทนการสนใจเรื่องการพัฒนาอุตสาหกรรมเพียงอย่างเดียวดังแต่ก่อน เพราะกระแสการพัฒนาเศรษฐกิจมีความสำคัญกระทบถึงกัน การติดต่อสื่อสาร การดำเนินกิจกรรมในที่หนึ่งมีผลกระทบต่ออีกที่หนึ่ง การพัฒนาเรื่องของบริหารจัดการที่ดี จึงเข้ามาเป็นเรื่องที่ธุรกิจให้ความสำคัญและเริ่มมีการนำไปปฏิบัติกันมากขึ้น

ธรรมาภิบาลหรือการบริหารจัดการที่ดี เป็นประเด็นที่อยู่ในความสนใจของพนักงานบริษัทของทุกธุรกิจเป็นการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตั้งมั่นอยู่บนหลักการบริหารงานที่เที่ยงธรรม สุจริต โปร่งใส ตรวจสอบได้ มีจิตสำนึกในการทำงาน มีความรับผิดชอบในสิ่งที่ได้กระทำ พร้อมตอบคำถามหรือตอบสนองต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและพร้อมรับผิด มีศีลธรรม จริยธรรมในการบริหารงาน การคำนึงถึงการมีส่วนร่วมในการรับรู้ ตัดสินใจ ดำเนินการและประเมินผล ตลอดจนร่วมรับผลจากการตัดสินใจร่วมนั้น มีการให้ความสำคัญกับทุกส่วนงาน และให้ความเท่าเทียมกันในบริษัท

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการยกระดับธุรกิจเข้าสู่เกณฑ์มาตรฐานธรรมาภิบาล อันเป็นการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของบริษัทให้ดำเนินงานโดยยึดหลักธรรมาภิบาล 10 องค์ประกอบ ดังนี้

  1. หลักประสิทธิผล (Effectiveness) คือ การบริหารงานที่บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของแผนการบริหารงาน เพื่อให้เกิดประโยชน์อันสูงสุดของบริษัท โดยการบริหารงานจะต้องมีทิศทางยุทธศาสตร์ และเป้าประสงค์ที่ชัดเจน มีกระบวนการบริหารงานและระบบงานที่เป็นมาตรฐาน รวมถึงมีการติดตามประเมินผลและพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
  2. หลักประสิทธิภาพ (Efficiency) คือ การบริหารงานตามแนวทางการกำกับดูแลที่ดีที่มีการออกแบบกระบวนการบริหารงานโดยใช้เทคนิคและเครื่องมือการบริหารจัดการที่เหมาะสมให้องค์กรสามารถใช้ทรัพยากรทั้งด้านต้นทุน แรงงานและระยะเวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการปบริหารงานตามภารกิจเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า
  3. หลักการตอบสนอง (Responsiveness) คือ การบริหารงานที่สามารถดำเนินการได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด และสร้างความเชื่อมั่น ความไว้วางใจ รวมถึงตอบสนองความคาดหวังหรือความต้องการของลูกค้า และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีความหลากหลายและมีความแตกต่าง
  1. หลักภาระรับผิดชอบ (Accountability) คือ การแสดงความรับผิดชอบในการบริหารงานและผลงานต่อเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยความรับผิดชอบนั้นควรอยู่ในระดับที่สนองต่อความคาดหวังของสาธารณะ รวมทั้งการแสดงถึงความสำนึกในการรับผิดชอบต่อปัญหาสาธารณะ
  2. หลักความโปร่งใส (Transparency) คือ กระบวนการบริหารงานเปิดเผยอย่างตรงไปตรงมา สามารถชี้แจงได้เมื่อมีข้อสงสัย
  3. หลักการมีส่วนร่วม (Participation) คือ การที่พนักงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม มีโอกาสได้เข้าร่วมในการรับรู้ เรียนรู้ ทำความเข้าใจ ร่วมแสดงทัศนะ ร่วมเสนอปัญหาหรือประเด็นที่สำคัญที่เกี่ยวข้อง ร่วมคิดแนวทาง ร่วมการแก้ไขปัญหา ร่วมในกระบวนการตัดสินใจ และร่วมกระบวนการพัฒนาในฐานะหุ้นส่วนการพัฒนา
  4. หลักการกระจายอำนาจ (Decentralization) คือ การถ่ายโอนอำนาจการตัดสินใจ ทรัพยากร และภารกิจจากส่วนงานบริหาร ให้แก่ส่วนงานต่างๆ ดำเนินการแทนโดยมีอิสระตามสมควรรวมถึงการมอบอำนาจและความรับผิดชอบในการตัดสินใจและการดำเนินการให้แก่บุคลากร โดยมุ่งเน้นการสร้างความพึงพอใจในการให้บริการต่อลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การปรับปรุงกระบวนการ และเพิ่มผลิตภาพเพื่อผลการดำเนินงานที่ดีของบริษัท
  5. หลักนิติธรรม (Rule of Law) คือ การใช้อำนาจของกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับในการบริหารงานด้วยความเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ และคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  6. หลักความเสมอภาค (Equity) คือ การที่พนักงานได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่มีการแบ่งแยก
  7. หลักมุ่งเน้นฉันทามติ (Consensus Oriented) คือ การหาข้อตกลงทั่วไปภายในกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นข้อตกลงที่เกิดจากการใช้กระบวนการ เพื่อหาข้อคิดเห็น และข้อยุติจากกลุ่มบุคคลที่ได้รับประโยชน์และเสียประโยชน์
  8. ไม่กระทำการใด ๆ ที่อาจจูงใจ ให้พนักงานในหน่วยงานภาครัฐ มีการดำเนินการที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม
  9. ห ลี ก เ ลี่ ยง ก า รทำ ธุ ร ก ร ร ม กับ เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือสมาชิกครอบครัวของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในขณะที่ เจ้าหน้าที่ดังกล่าวมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเกี่ยวกับสัญญาที่ทำกับรัฐ
  10. ไม่เสนอหรือให้ของมีค่าต่อเจ้าหน้าที่รัฐ

(นายสมนึก วงษ์สมิง )
   กรรมการผู้จัดการ

ธรรมาภิบาลและจริยธรรมในการดำเนินกิจการ